วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความแตกต่างของจอ LCD กับ PLASMA

บทความที่หน้าสนใจจากเวป www.voranatehifi.com/article?id=29262&lang=th

ความแตกต่างของจอ LCD กับ PLASMA
LCD และ PLASMA จะเหมือนกันในแง่ของหลักการทำงานที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นดิจิตอลขนานแท้ โดยมีการกำเนิดภาพที่เป็น PIXEL-BASED หรือ “จุดภาพ” เช่นเดียวกัน จึงไม่มีเส้นสแกนภาพ อย่างใน CRT ผลดีก็คือ ได้ความแน่นของภาพและความชัดเจนของสีสันที่ดีกว่า CRT เพราะจำนวนจุดกำเนิดภาพเป็นไปตามสัญญาณที่ส่งเข้ามาอย่างเต็มที่ไม่มีการ สูญหายไปในการสแกนภาพ นอกจากนี้ทั้ง 2 เทคโนโลยียังจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีในระดับสูงเพื่อการผลิต ราคาจำหน่ายจึงยังคงอยู่ในระดับสูง LCD นั้นจัดเป็น transmissive device เพราะจำเป็นต้องใช้แสงสว่างส่องผ่านผลึกเหลว เพื่อก่อกำเนิดภาพที่มีความสดใสชัดเจน ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว เราดู “เงา” ของผลึกเหลวในขณะทำงาน คล้ายกับการรับชมภาพสไลด์ ในขณะที่ PLASMA จะจัดเป็น emission device แบบเดียวกับ CRT คือเรารับชมภาพที่เกิดขึ้นโดยตรงบนจอ อย่างที่เรียกกันว่า direct-view PLASMA เปรียบได้กับหลอดนีออนขนาดจิ๋วจำนวนมากเรียงรายกันอยู่บนแผงจอ แต่ละหลอดนีออนขนาดจิ๋วนี้ก็คือ แต่ละพิกเซลของการกำเนิดภาพ ยิ่งต้องการรายละเอียดจุดภาพมากๆ ก็ยิ่งต้องมีเจ้าหลอดนีออนขนาดจิ๋วนี้มาก ตามไปด้วย เอาแค่ว่ารายละเอียดระดับ VGA ธรรมดา 640x480 ก็ต้องมีถึงกว่าสามแสนจุดภาพ (307,200) กันเลยทีเดียว ดังนั้นในจำนวนจุดภาพมหาศาลนี้ “ย่อม” ที่จะมีบางจุดภาพที่ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ กลายเป็น “จุดตาย” ที่เรียกว่า dead pixel ซึ่งหากมีมากก็จะกลายเป็นว่าเราจะสูญเสียรายละเอียดของภาพที่รับชมไป และเนื่องจาก PLASMA ใช้หลอดนีออนขนาดจิ๋วจำนวนมาก จึงแน่นอนว่า ย่อมที่จะต้องมีการกระจายตัวของรังสีอุลตร้าไวโอเลตออกมาคล้ายกับ CRT ในขณะที่ LCD นั้นไม่มี อย่างไรก็ตามแนวทางในการพัฒนาให้ PLASMA มีราคาที่ย่อมเยาลงกลับเป็นไปได้ง่ายดายกว่า LCD รวมทั้งค่าความสว่างและคอนทราสต์เรโชก็สูงกว่าด้วยครับ




ความแตกต่างของจอ CRT กับจอ LCDจอ CRT สามารถเลือกแสดงผลได้หลายความละเอียด แต่จอ LCD มีข้อจำกัดคือสามารถแสดงผลได้ด้วยความละเอียดเพียงค่าเดียวเท่านั้น จอ CRT ขนาดจะใหญ่กว่าเพราะประกอบขึ้นด้วยวงจรไฟฟ้า มีการแผ่กระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากหน้าจอค่อนข้างสูง จึงเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน ส่วนจอ LCD ประกอบขึ้นด้วยสารโปร่งแสงกึ่งแข็งกึ่งเหลว จอจึงบางและเบาทำให้ประหยัดพื้นที่การใช้งาน และอัตราการแผ่รังสีต่ำช่วยถนอมสายตาได้ดีกว่า มาตรฐานการวัดขนาดหน้าจอจะแตกต่างกัน โดยจอ LCD วัดขนาดตามแนวเส้นทแยงมุมได้โดยตรง แต่จอ CRT จะมีส่วนโค้งของจอภาพ ทำให้พื้นที่การมองไม่ตรงกับขนาดที่วัดได้ จอ LCD จึงมีขนาดพื้นที่การมองของหน้าจอเท่ากับจอ CRT ที่มีขนาดใหญ่กว่า 2-3 นิ้ว และภาพที่ได้จะไม่เสียรูปทรง LCD มีปัญหาในเรื่องมุมในการมองหน้าจอ จะมีมุมในการมองเห็นที่แคบกว่า เพราะใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลแบบกระจายแสงหรือส่งผ่านแสง โดยการผสมแสงที่ฉายผ่านหน้าจอ เมื่อแสงถูกส่งผ่านไปยังเซลล์ที่ต้องการแล้ว แสงที่อยู่ในเซลล์ข้างเคียงก็จะถูกลดทอนลง ส่วนจอ CRT เป็นการปล่อยแสง โดยมีอุปกรณ์ปล่อยแสงทางด้านหน้าของจอภาพ ทำให้สามารถมองเห็นหน้าจอได้จากมุมมองที่กว้างกว่า CRT ใช้ปืนอิเล็กตรอน 3 ตัวยิงลำอิเล็กตรอนมารวมกัน ณ จุดๆ หนึ่ง เพื่อสร้างภาพที่คมชัด ซึ่งอาจเกิดการเบี่ยงเบนไม่มาชนกัน แต่จอ LCD ใช้การสร้างภาพจากการเปิด-ปิดเซลล์แต่ละเซลล์แยกกันโดยอิสระ ทำให้ภาพที่ปรากฏบนจอมีความคมชัด แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ควรตรวจสอบเซลล์เหล่านั้นด้วยว่าแต่ละเซลล์ทำงานหรือ เปล่า ความสามารถพิเศษของจอ LCD ที่หาไม่ได้จากจอ CRT ก็คือ การหมุนแสดงผลในแนวตั้ง ซึ่งจะทำให้สามารถแสดงหน้าเอกสารต่างๆ หรือหน้าเว็บไซต์ทั้งหน้าได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องคลิกปุ่มเลื่อนขึ้นลงแต่ อย่างใด แต่คุณสมบัตินี้จะมีเฉพาะจอบางรุ่นเท่านั้น LCD มีอุปกรณ์อื่นที่จอ CRT ไม่มี เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่อยู่ด้านหลังของจอภาพ ช่วยทำให้หน้าจอสว่าง แต่ในบางครั้งก็ทำให้เห็นเป็นเส้นสว่างโดดเด่นกว่าบริเวณอื่น และทำให้เห็นเป็นภาพเงาดำหรือภาพหลอน และในกรณีของการแสดงผลที่มีการสั่นหรือเคลื่อนไหวอย่างเร็ว ก็อาจส่งผลให้เกิดเป็นลายทางหรือคลื่นบนหน้าจอได้



LCD (Liquid Crystal Display) กับ DLP (Digital Light Processing)
เปรียบ เทียบการทำงานทั้งสองเทคโนโลยีได้ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วง4-5 ปีที่ผ่านมา ความแตกต่างของระบบทั้งสองลดน้อยลงมาก แต่สิ่งที่ยังพูดถึงกันบ่อยๆ ก็คือ ข้อแรก LCD นั้นให้ภาพที่สวยงามมีสีสันที่เป็นธรรมชาติมากกว่า DLP ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจาก dlp chip เดียวถูกสร้างมาสำหรับตลาด Presentation สีขาวถูกเพิ่มเข้าไปในวงล้อสีทำให้ภาพสว่างขึ้นก็จริง แต่ก็ทำให้สีผิดเพี้ยนไปด้วยภาพที่ได้จาก DLP จึงไม่ค่อยอิ่มและสั่นซึ่งจะไม่ค่อยมีผลในการแสดงข้อมูล แต่เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นพิเศษถ้าจะใช้โปรเจคเตอร์สำหรับสัญญาณภาพ ที่มีรายละเอียดมากและเพื่อชดเชยข้อบกพร่องในเรื่องสีที่ไม่เป็นธรรมชาติ และเพื่อปรับปรุงการแสดงสีให้ถูกต้องโปรเจคเตอร์ที่ถูกผลิตมาสำหรับ home theater และระบบวีดีโอคุณภาพสูงจะใช้วงล้อสีที่มีหกสี (six-segment) ซึ่งประกอบด้วยสีแดง เขียว น้ำเงิน สองชุดโดยได้ตัดสีขาวออกไป บางวงล้ออาจมีถึงเจ็ดหรือแปดสี ด้วยวงล้อสีนี้ช่วยเพิ่มความถูกต้องให้กับการแสดงสี ข้อสอง ความแตกต่างอีกอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ความคมชัดในการแสดงข้อมูล LCD สามารถให้ภาพได้คมชัดกว่า DLP ในทุกๆ resolution สังเกตได้จากการฉายภาพที่มีลายละเอียดของข้อมูลที่เป็นลายเส้น อย่างไรก็ดีไม่มีความแตกต่างที่มองเห็นได้ชัดในการแสดงภาพวีดีโอ ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่า DLP จะแสดงภาพที่เป็นข้อมูลและลายเส้นไม่ได้เรื่อง DLP สามารถแสดงผลออกมาได้ชัดดีทีเดียวเพียงแต่เมื่อนำ DLP และ LCD ที่มี resolution เท่ากันมาวางฉายคู่กัน จากการเปรียบเทียบแล้วดูเหมือนว่า LCD จะให้ความคมชัดมากกว่า ข้อสาม LCD นั้นมีประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างที่ดี LCD สามารถผลิตแสงที่มีค่า ANSI lumens ได้มากกว่า DLP ด้วยหลอดภาพที่กำลังไฟฟ้า (watt lamp) เท่าๆ กัน มีโปรเจคเตอร์จำนวนมากที่ถูกผลิตออกมาด้วยค่า 3000 – 6000 lumens ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโปรเจคเตอร์ในระบบ LCD ดังนั้น LCD จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเมื่อต้องการความสว่างมากๆ LCD Projector มีข้อด้อยอยู่สามข้อซึ่งจะเกี่ยวกับการแสดงภาพมากกว่าในเรื่องการแสดงข้อมูล ข้อแรกก็คือสามารถมองเห็นความไม่ต่อเนื่องของ pixel ได้ง่ายบนจอภาพ ข้อสองภาพที่ปรากฏบนจอภาพจะมีลักษณะเป็นตารางซึ่งเป็นผลมาจากมีช่องว่าง ระหว่าง pixel มาก ข้อที่สามมีค่า contrast ต่ำ ที่ผ่านมา LCD โปรเจคเตอร์ไม่เป็นที่พอใจนักในหมู่ผู้ที่ชอบชมภาพยนตร์เนื่องมาจากเหตุผล เหล่านี้ อย่างไรก็ตามใน LCD โปรเจคเตอร์รุ่นใหม่ๆ จะพบว่าปัญหาเหล่านี้ได้ถูกลดน้อยลง ช่องว่างระหว่าง pixel ถูกทำให้ลดลงและเพิ่มจำนวน pixel ให้มากขึ้น เมื่อฉายภาพด้วยระยะที่เหมาะสมข้อเสียต่างๆ เหล่านี้จะไม่ปรากฏให้เห็นเลย DLP เทคโนโลยีนั้นสร้าง pixel ด้วยกระจกเงาเล็กๆ จึงให้ภาพที่นุ่มนวลและมี pixel ที่ชิดกันมากกว่า LCD ดังนั้นไม่ว่าจะด้วย resolution ใด DLP จะเหนือกว่า LCD ในเรื่องการแสดง pixel ว่าด้วยเรื่อง contrast ระบบ LCD นั้นยังล้าหลังและเป็นรอง DLP ในเรื่องนี้แต่ทั้งสองเทคโนโลยีก็ยังมีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง เมื่อก่อน LCD โปรเจคเตอร์นั้นมีค่า contrast ที่ 400:1 ซึ่งต่ำกว่า DLP อยู่เกือบเท่าตัว ปัจจุบันนี้ทั้งสองเทคโนโลยีได้เพิ่มค่า contrast จนสูงขึ้นมาก DLP โปรเจคเตอร์ส่วนมากมีค่า contrast อย่างต่ำอยู่ที่ 2000 :1 และสำหรับรุ่นพิเศษสำหรับ home theater มีค่า contrast ถึง 5000:1 ส่วนทาง LCD ก็ได้เพิ่มค่า contrast ให้มากขึ้นเช่นเดียวกัน LCD โปรเจคเตอร์มีค่า contrast ที่ 1000:1 ขึ้นไป บางรุ่นมีค่า contrast สูงถึง 6000:1 ทีเดียว เรื่องของน้ำหนัก ซึ่งก็จะเกี่ยวข้องกับความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนั่นเอง เนื่องจาก DLP ใช้ระบบการทำงานด้วย chip ที่มีขนาดเล็กไม่เหมือนกับ LCD ที่ต้องใช้แผ่นกระจก lcd ถึงสามแผ่น DLP โปรเจคเตอร์จึงมีน้ำหนักที่เบากว่า แต่ก็ไม่แน่เสมอไปทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีในการผลิตของแต่ละผู้ ผลิตโปรเจคเตอร์ด้วยเช่นกัน DLP กับปัญหา Rainbow effect เมื่อมีการพูดถึงข้อด้อยของ DLP ที่เกิดมาจากการใช้วงล้อสีในการสร้างภาพเป็นไปได้ว่าการทำงานลักษณะนี้ทำ ให้เกิด “ rainbow effect ” เนื่องจากขณะที่วงล้อสีถูกทำให้หมุนเพื่อทำให้เกิดภาพอย่างต่อเนื่องอย่าง รวดเร็วนั้น ตาของเรามีความไวพอที่จะจับความเปลี่ยนแปลงได้ทัน ทำให้เราเห็นแสงลักษณะเหมือนสีรุ้งสะท้อนออกมาจากภาพ แต่ก็มีบางคนเท่านั้นที่จะเห็นความผิดปรกตินี้ได้ ส่วน LCD โปรเจคเตอร์นั้นมีวิธีการสร้างภาพด้วยสีที่แน่นอนโดยการสร้างสีจากสีแดง เขียว น้ำเงิน ไปออกเป็นภาพในช่วงเวลาเดียวกับผู้ที่ชมภาพจาก LCD โปรเจคเตอร์จึงไม่เห็นความผิดปรกตินี้เลย Texas Instruments ได้ทำการวิเคราะห์ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่าแต่เดิมในยุคแรกของการผลิตนั้น DLP โปรเจคเตอร์ถูกผลิตขึ้นโดยมีการใช้วงล้อสีซึ่งหมุนด้วยความเร็ว 60 รอบต่อวินาที (60 Hz) ซึ่งจะเท่ากับ 3600 รอบต่อนาทีโดยเรียกว่า 1x ในระหว่างได้มีการออกวางจำหน่าย DLP โปรเจคเตอร์ในช่วงแรกนี้ก็ได้มีผู้พบเห็นความผิดปรกตินี้บ้างแล้ว ต่อมาในยุคที่สอง วงล้อสีได้ถูกพัฒนาความเร็วขึ้นเป็น 2x ซึ่งจะเท่ากับ 120 Hz คือวงล้อสีจะหมุน 7200 รอบต่อนาที การเพิ่มความเร็วขึ้นเป็นสองเท่านี้ทำให้คนส่วนใหญ่เห็นความผิดปรกติของภาพ น้อยลง ปัจจุบันนี้ home theater DLP โปรเจคเตอร์ถูกผลิตขึ้นโดยมีวงล้อสีที่มีถึงหกสี (six-segment) ซึ่งมีสีแดง เขียว น้ำเงิน สองชุด วงล้อสีนี้หมุน 120 Hz ซึ่งเท่ากับ 7200 รอบต่อนาที และเนื่องจากสีที่เพิ่มเป็นสองชุดในหนึ่งรอบนี้เองจึงถูกเรียกว่ามีความ เร็วเท่ากับ 4x ทั้งๆ ที่ความเร็วรอบยังเท่าเดิม เหตุผลใหญ่ที่ต้องใช้วงล้อที่มีหกสีและความเร็วรอบที่ 4x ก็เพื่อแก้ปัญหา “rainbow effect” นั่นเอง LCD โปรเจคเตอร์แสดงภาพที่ซีดและจางลงเรื่อยๆ เมื่อใช้งานไปสักระยะเวลาหนึ่งโดยเฉพาะกับแผ่น LCD สีน้ำเงิน ซึ่งก็มีผลในการจัด balance ของสีทำให้ภาพมีสีผิดเพี้ยนไปและค่า contrast ก็ตกลงด้วย แต่ก็ไม่ต้องตกใจกลัวจนไม่กล้าใช้ LCD เนื่องจากการจะเกิดกรณีเช่นนี้ได้คงต้องใช้เวลานานพอสมควรซึ่งอาจจะต้องใช้ เวลาเป็นปีๆ ทีเดียว ทั้ง DLP และ LCD ต่างก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อความพึง พอใจของผู้บริโภค ผู้ผลิตโปรเจคเตอร์ต่างก็ได้ทำการแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองให้ดีขึ้นและปรับ สิ่งที่ดีอยู่ แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก อย่างไรก็ดีสำหรับสถานที่ที่ใหญ่มากต้องการโปรเจคเตอร์ที่มีความสว่างมาก LCD โปรเจคเตอร์ยังเป็นผู้นำในด้านนี้อยู่ในการใช้งานกับ home theater DLP โปรเจคเตอร์ยังนำหน้าอยู่เสมอในเรื่องสี contrast และคุณภาพของภาพซึ่งทำให้ผู้ที่ใช้ระบบ home theater ชื่นชอบอยู่เสมอ แต่ทุกวันนี้ช่องว่างระหว่างการเป็นผู้นำและผู้ตามของทั้งสองเทคโนโลยีนั้น ลดน้อยลงทุกที ทั้ง DLP และ LCD ต่างก็มีความสามารถให้ภาพที่มีคุณภาพระดับสูงสำหรับ home theater ได้อย่างสมบูรณ์แบบทีเดียว DLP หรือ LCD เทคโนโลยีแบบใดจะดีกว่ากันนั้นคงจะต้องขึ้นอยู่กับบุคคลแต่ละคนซึ่งจะเป็น ผู้เลือกว่าเทคโนโลยีแบบใดจะดีที่สุดสำหรับบุคคลนั้น







ข้อมูลจากขอขอบคุณ
http://www.ps-thai.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น