วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)

บทที่ 3
ซอฟต์แวร์ (Software)
• กล่าวนำทั่วไป
ซอฟต์แวร์ (Software) คือ ชุดคำสั่งที่เรามีไว้สำหรับสั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามที่เราต้องการ ซอฟต์แวร์เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่มองเห็นได้เมื่อเขียนออกมาเป็นรูปคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์เป็นตัวการทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ
- คำสั่ง (Command) : หมายถึงการสั่งคอมพิวเตอร์ 1 คำสั่ง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตาม 1 อย่าง เช่น คำสั่งลบไฟล์ (Delete)
- โปรแกรม (Program) : หมายถึงการนำเอาคำสั่งหลาย ๆ คำสั่งมาเรียงร้อยกันอย่างถูกต้องและเป็นระบบระเบียบ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน 1 งาน เช่น งาน Update ข้อมูล อาจจะประกอบไปด้วย คำสั่งเปิดไฟล์ (Open File), คำสั่งค้นหา (Fine), คำสั่งการแทนที่ข้อมูล (Replace) และอื่น ๆ
- ซอฟต์แวร์ (Software) : หมายถึงการนำเอาโปรแกรมหลาย ๆ โปรแกรมที่ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบมารวมกันไว้ เช่น Software MS-Office ’97 ประกอบด้วย โปรแกรม MS-Word ’97, MS-Excel ’97, MS-Power Point ’97, MS-Access ’97 เป็นต้น

• ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท คือ
 ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
คือ ซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ มีหน้าที่หลัก ๆ ดังนี้
1. ใช้ในการ Boot เครื่องคอมพิวเตอร์
2. รับเอาคำสั่งจากผู้ใช้แล้วนำไปแปลความหมายเพื่อนำไปสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่อ
3. ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ทำงานสอดคล้องกัน
4. จัดลำดับงานต่าง ๆ ให้กับตัวประมวลผล (Processor)
5. จัดการกับหน่วยความจำ
6. แจ้งข้อผิดพลาดหรือความสำเร็จที่เกิดขึ้นให้กับผู้ใช้
ปัจจุบันระบบปฏิบัติที่ใช้กัน จะมีอยู่หลายชนิด ดังนี้
 DOS : Disk Operating System เป็น OS รุ่นแรกของพีซี มีการติดต่อกับผู้ใช้เป็นตัวอักษรทั้งหมด (Text Mode) เป็นระบบปฏิบัติการแบบ 16 บิต เวอร์ชั่นล่าสุดคือ 6.22

 ระบบปฏิบัติการตระกูล Windows ของบริษัทไมโครซอฟต์
ซึ่งมีการพัฒนากันมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1983 มาจนได้รับความ
นิยมในปี 1990 (Windows 3.0/16 บิต) และก็พัฒนาต่อมา
เรื่อง ๆ จนถึงปัจจุบัน คือ

- Windows 95 เป็นระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต
ได้รับความนิยมในช่วงปี 1995-1998 เวอร์ชั่นล่าสุด
คือ OSR 2.1



- Windows 98 เป็นระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต มีคุณสมบัติใหม่ ๆ เพิ่มเติมจาก Win95 มากมายเช่น ระบบไฟล์แบบ FAT 32 , การสนับสนุนฮาร์ดแวร์มาตรฐานใหม่ ๆ , การรวมเอาเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเข้าไว้ในตัวระบบปฏิบัติการเลย เวอร์ชั่นล่าสุดคือ Windows 98 SE (Second Edition)

- Windows NT 4.0 เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครือข่าย
และองค์กรขนาดใหญ่ มีเวอร์ชั่นในการใช้งานในระดับ
Workstation และ Server


- Windows 2000 เป็นเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดของ Windows หรือ Windows NT 5.0 ที่จะใช้เป็นระบบปฏิบัติการมาตรฐานในอนาคต โดยจะมาแทนที่ Windows 98 และ Windows NT 4.0

- Windows CE เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์
แบบมือถือ (Palmtop) และคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
รวมไปถึง AutoPC ที่ใช้ในรถยนต์ มีระบบการทำงาน
คล้ายกับ Windows 95

- ระบบปฏิบัติการยูนิกส์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการอีกแบบหนึ่ง ซึ่งมีการใช้งานมาตั้งแต่ก่อนวินโดว์จะได้รับความนิยม โดยใช้กับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ , มินิคอมพิวเตอร์ปัจจุบันมีระบบปฏิบัติการยูนิกส์หลายค่ายด้วยกัน เช่น AIX, Solaris, Linux ฯลฯ


 ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ (Utilities)
คือ ซอฟต์แวร์สำหรับช่วยทำงานประจำปลีกย่อยต่าง ๆ ให้ผู้ใช้ เช่น ช่วยในการคัดลอกข้อมูล (Copy) การลบข้อมูล (Delete) การจัดระเบียบให้กับข้อมูล (Defragment) เป็นต้น ตัวอย่างของ Utilities เช่น
- Noton’s Utilities
- PC-Tools
- Anti Virus Software
- คำสั่งในชุด System Tools ของ Windows 9X
- คำสั่งภายนอกของ DOS และ Windows เช่น COPY, DELETE, FORMAT ฯลฯ

 ตัวแปลภาษา (Compiler & Interpreter)
คือ ซอฟต์แวร์สำหรับช่วยในการแปลโปรแกรมที่มนุษย์เขียนขึ้นมาด้วยภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำและเป็นภาษาเดียวเท่านั้นที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ตัวแปลภาษามีอยู่หลายอย่างเช่น C Compiler, Pascal Compiler, BASIC Interpreter, Assembler เป็นต้น
การแปลภาษาของตัวแปลภาษา จะกระทำได้ 2 ลักษณะ คือ Compiler แปลแบบกลุ่ม คือ แปลทั้งโปรแกรมแล้วรายงานผลข้อผิดพลาดออกมาว่ามีหรือไม่ ถ้าไม่มีก็จะถือว่าการแปลนั้นสำเร็จ Interpreter แปลทีละคำสั่ง คือในโปรแกรมหนึ่ง ๆ อาจจะมีหลายร้อยคำสั่ง ตัวแปลนี้ก็ต้องแปลทีละคำสั่ง และรายงานผลข้อผิดพลาดทีละคำสั่ง


 ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (Database Management System)
เป็น Software ด้านการประมวลผลและจัดการกับข้อมูล หรือฐานข้อมูล เช่น dBASE III, dBASE IV, Clipper, FoxBASE, FoxPro, Paradox, Microsoft Access เป็นต้น ความสามารถของโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล คือ
- สามารถสร้าง ดัดแปลง แก้ไขข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว
- สามารถเรียงลำดับข้อมูลได้ตามเงื่อนไขที่ต้องการ
- สามารถค้นหาข้อมูลได้ตามเงื่อนไขที่ต้องการ
- สามารถพิมพ์ไฟล์ หรือบางส่วนของไฟล์ได้ตามที่ต้องการ
- สามารถสร้าง ดัดแปลง โครงสร้างของไฟล์ข้อมูลได้
- สามารถนำข้อมูลบางส่วนที่ต้องการมาสร้างเป็นไฟล์ใหม่ได้ทันที
- มีความจุสูง เก็บข้อมูลและจัดการเกี่ยวกับข้อมูลได้จำนวนมาก
 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับใช้งานเฉพาะอย่าง ถือว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน และแต่ละหน่วยงานอาจจะใช้ซอฟต์แวร์นี้ไม่เหมือนกันเลย เช่น
1. Word Processing Software
เป็น Software ที่ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการสร้างเอกสารหรือหรือรายงาน เช่น CW, RW, Microsoft Word เป็นต้น ความสามารถของโปรแกรมจัดทำเอกสาร มีดังนี้
- สามารถสร้าง ดัดแปลง แก้ไขเอกสารหรือรายงานได้สะดวก รวดเร็ว
- สามารถตัดต่อข้อความ ค้นหาและเปลี่ยนคำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
- สามารถจัดพิมพ์เอกสารเอกสารซ้ำ ๆ กันได้หลายชุดในการสั่งแต่ละครั้ง
- สามารถเก็บเอกสารหรือรายงานได้ เพื่อนำมาเรียกใช้ภายหลังได้
- มีความหลากลายในรูปแบบของตัวอักษร
2. Calculation Software
เป็น Software ที่ช่วยในการคำนวณ โดยเฉพาะการคำนวณที่ต้องการเห็นผลของการเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆ แบบสัมพันธ์กัน บางครั้งยังรวมเอาขีดความสามารถของ Word และฐานข้อมูลมารวมไว้ด้วย เช่น Lotus 123, Microsoft Excel เป็นต้น
3. Graphic Software
เป็น Software ที่ใช้ในการวาดรูป สร้างรูป เพื่อใช้ในงาน Presentation หรืองานทางด้าน Internet ต่างๆ บางโปรแกรมสามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย เช่น Paint Brush, Photo Shop, 3D Studio เป็นต้น
4. Presentation Software
เป็น Software สำหรับการสร้างงานเพื่อใช้ในการนำเสนอข้อมูล โดยอาจจะสร้างเป็นภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว เช่น PC Story Board, Microsoft Power Point เป็นต้น

• เราจะหาซอฟต์แวร์มาใช้งานได้กี่วิธี
ในปัจจุบันนี้ เราสามารถจะจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งานในหน่วยงานเราได้หลายวิธี ดังนี้
1. ซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จมาใช้
2. พัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้เอง
- ให้นักวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานเป็นผู้พัฒนาให้
- ให้ User ในส่วนงานแต่ละส่วนพัฒนา Software ขึ้นมาใช้เอง
3. จ้างบริษัทมาพัฒนาซอฟต์แวร์ให้
4. ได้รับซอฟต์แวร์มาใช้โดยมิได้เสียค่าใช้จ่าย



• การพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้งาน มีขั้นตอนกว้าง ๆ อยู่ 4 ขั้นตอน คือ
1. ศึกษาความต้องการ : การประมวลผลด้วยมือ ทำอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ใช้เครื่องมืออะไรบ้าง ฯลฯ
2. ออกแบบโปรแกรม : ถ้าจะเปลี่ยนระบบงานจากการทำด้วยมือ มาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำอย่างไรบ้าง
3. เขียนโปรแกรม : เลือกเอา Language ที่เหมาะสมกับงานมาทำการพัฒนา
4. ทดสอบโปรแกรม : การ Debugging
เมื่อได้จัดทำโปรแกรมถึงขั้นที่ 4 แล้ว แน่ใจว่าโปรแกรมนั้นถูกต้องดีแล้ว เราก็พร้อมจะนำเอาโปรแกรมนั้นไปใช้งานจริงต่อไป อย่างไรก็ตามก่อนจะนำโปรแกรมไปใช้งานจริง จะต้องกระทำดังนี้
 ต้องจัดทำคู่มือการใช้โปแกรม
 ต้องมีการฝึกอบรมผู้ใช้ให้สามารถรองรับระบบงานได้ก่อน
 ต้องวางแผนรองรับความเปลี่ยนแปลงขององค์กรเอาไว้ล่วงหน้า ทั้งในสิ่งแวดล้อมขององค์กร บุคลากร สิ่งอุปกรณ์เพิ่มเติม เพราะอาจจะต้องเกดความต้องการใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนเพิ่มขึ้นได้
 วางแผนเรื่องการบำรุงรักษาโปรแกรม (Program Maintenance)

• เราควรมีซอฟต์แวร์อะไรไว้ใช้บ้าง
ทุกสำนักงานอัตโนมัติ หรือสำนักงานที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ ควรจะมีซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานนั้น ดังนี้
1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เช่น
- DOS (ทั้งต้นฉบับ และ Emergency Boot Disk)
- Windows 95,98,2000 (ทั้งต้นฉบับ และ Emergency Boot Disk)
2. โปรแกรมอรรถประโยชน์ เช่น
- PC Tools , Norton Utilities
- Program Anti-Virus เช่น McAfee VirusScan
3. โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เช่น
- FoxPro
- SQL, My SQL
- MS-Access
4. โปรแกรมประยุกต์ เช่น
- โปรแกรมชุด MS-Office
- โปรแกรมใช้งานอื่น ๆ

• การเขียนโปรแกรมมีความยุ่งยากด้านใดบ้าง
ความยุ่งยากในการเขียนโปรแกรมนั้นมีอยู่หลายประการด้วยกัน คือ
1. การกำหนดความต้องการว่าจะให้โปรแกรมนั้นทำอะไรบ้าง (ตั้งคำถามให้ได้มากที่สุด)
2. การลำดับความคิดว่า ขั้นตอนต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ในการเรียงร้อยคำสั่งให้เป็นโปรแกรม (หาหนทางที่เหมาะสมที่สุด)
3. การตรวจสอบหารข้อผิดพลาด (ทุ่มเทมากที่สุด ห้ามหยุด เพราะถ้าหยุดอาจจะต้องเริ่มต้นคิดใหม่)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น