วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 6 ไมโครโพรเซสเซอร์

บทที่ 6
ไมโครโพรเซสเซอร์
• กล่าวนำทั่วไป
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ หรือเครื่อง PC (Personal Computer) ถือได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีใช้กันมากที่สุดในยุคปัจจุบันนี้ เพราะเป็นเครื่องที่มีขนาดเล็ก ราคาถูก สามารถหาซื้อมาใช้ได้ง่าย ดังนั้นในบทนี้จะได้กล่าวถึงส่วนประกอบหลักที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ หรือ ตัวประมวลผลสำหรับเครื่องพีซี ซึ่งถือได้ว่าเป็นตัวสำคัญที่สุดในการบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ๆ ดังนี้

• เทคโนโลยีการผลิต
ไมโครโพรเซสเซอร์ในปัจจุบันนี้ จะใช้เทคโนโลยีการผลิตสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) แบบที่เรียกว่า CMOS (Complementary Metal-Oxide Semiconductor) ซึ่งมีความละเอียดของลาวงจรแตกต่างกันออกไปหลายขนาด คือ 0.9,0.7,0.5,0.35,0.25 และ 0.18 micron ที่ใช้กันในไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นใหม่ ๆ (1 micron = หนึ่งในล้านเมตร) ซึ่งลายวงจรขนาดเล็กลงก็ยิ่งจะประหยัดพื้นที่และราคาก็ลดลง
โดยทั่วไปแล้ววงจรเหล่านี้จะกินไฟมากขึ้นเมื่อมีความถี่สูงขึ้น จึงทำให้เกิดความร้อนมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าซีพียูรุ่นใหม่ ๆ จำเป็นต้องมีแผ่นระบายความร้อน (Heat sink) พร้อมพัดลมตัวเล็กติดตั้งมาด้วยเสมอ และยิ่งในยุคแรกๆ ของซีพียูที่ผลิตโดยใช้ BiCMOS (ใช้ทรานซิสเตอร์แบบ Bipolar ผสมกับ CMOS) จะกินไฟสูงถึง 5 V.DC.สิ้นเปลืองพลังงานประมาณ 18 Watt และต่อมาสามารถลดแรงดันไฟลงได้เป็น 1.7-3.3 V.DC. ทำให้สามารถลดพลังงานลงได้มากคือประมาณ 3-5 Watt เท่านั้น เรียกว่า VRT (Voltage Reduction Technology) ดังรูป











• ไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูล Intel
 80486, 80386, 80286, 8088/8086
เป็นซีพียูรุ่นที่ใช้ชื่อเป็นตัวเลขที่ Intel ผลิตออกมาในยุคแรก ๆ และได้ตกรุ่นไปหมดแล้ว จึงขออธิบายขยายความเอาไว้แต่เพียงย่อ ๆ เท่านั้น คือ
 8088/8086
- เป็นซีพียูรุ่นแรกสุดที่มีในเครื่อง PC/XT ผลิตออกมาเมื่อปี 1980
- 8088 เป็นซีพียูขนาด 16 บิตที่ติดต่อกับภายนอกผ่านบัสขนาด 8 บิตเท่านั้น (16 บิตเทียม)
- 8086 จะเป็นซีพียูคู่กับ 8088 แต่จะติดต่อกับภายนอกด้วยบัส 16 บิตเหมือนภายใน
- ใช้สัญญาณนาฬิกาประมาณ 4.77 MHz.
 80286 เป็นซีพียูขนาด 16 บิตเป็น
- เป็นซีพียูขนาด 16 บิตที่ติดต่อกับภายนอกผ่านบัสขนาด 16 บิต
- เป็นซีพียูสำหรับเครื่อง PC/AT
- ความเร็วประมาณ 12-20 MHz.
- ทำให้เกิดมาตรฐาน Slot แบบ ISA (16 บิต) และ ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE
 80386
- เป็นซีพียูขนาด 32 บิตสามารถมองเห็น RAM ได้สูงถึง 4 GB.
- ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของระบบ Multitasking อย่างสมบูรณ์
- ความเร็วประมาณ 25-40 MHz.
- ทำให้เกิดมาตรฐานเกี่ยวกับ Cache Memory แบบ External ขึ้น
 80486
- เป็นซีพียูขนาด 32 บิต ที่มีความเร็วสูงกว่าบัสภายนอก คือบัสภายนอกใช้ความเร็ว 25 และ 33 MHz. แต่ซีพียูจะเป็น DX2-50 (25x2), DX2-66 (33x2), DX4-75 (25x3), DX4-100 (33x3)
- ทำให้เกิดมาตรฐานเกี่ยวกับ Cache Memory แบบ Internal (L1 Cache ขนาด 8 KB.)

 Intel Pentium Classic
Intel's Pentium Classic : P54C
Clock Rate : 60 - 200 MHz
BUS : 60 , 66 , 75 MHz
Born : Mar 1993
Platform : SOCKET 7
L1 Cache : 16 KB
L2 Cache : Main board / Normal or Piped Line Burst 256 - 512 KB
Process Technology : 0.5 Micron , 0.35 Micron

สรุปรายละเอียดได้ดังนี้
- ออกสู่ท้องตลาดเมื่อ 22 มีนาคม ปี 1993
- คำว่า Pent มาจากภาษาลาตินที่แปลว่า ลำดับที่ 5 อันที่จริงที่ Intel หันมาใช้คำว่า Pentium เพราะเคยตั้งชื่อเป็น 286 386 486 เรื่อย ๆ มาแต่คราวนี้ใช้เป็น Pentium เพื่อป้อกันการลอกเลียนแบบ
- Pentium ถือเป็นต้นแบบของเทคโนโลยี Super Scalar คือสามารถประมวลผลข้อมูลได้มากกว่า 1 คำสั่งภายใต้สัญญาณนาฬิกาเดียว นั่นคือสามารถประมวลผล 2 คำสั่งได้พร้อม ๆ กันได้ ดังนั้น Pentium คือ 486 สองชิพในตัวเดียว
- เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ System BUS คือเป็น 64 bit และความเร็วคือ 60 และ 66 MHz ทั้ง 2 อย่างใช้แรงดันไฟ 5 โวลท์ ทำให้เกิดความร้อนสูงมาก และรุ่น 75 MHz หรือรุ่นหลังจากนั้นจะเป็น 0.35 Micron Technology จะเกิดความร้อนน้อยลงเพราะใช้แรงดันไฟ 3.3 โวลท์

 Intel Pentium MMX
Intel's Pentium MMX : P55C
Clock Rate : 166 - 233 MHz
BUS : 66 MHz
Born : Jan 1997
Platform : SOCKET 7
L1 Cache : 32 KB
L2 Cache : Main board / Normal or Piped Line Burst 256 - 1 MB
Process Technology : 0.35 Micron (Desktop) , 0.25 Micron (Laptop / Notebook)

สรุปรายละเอียดได้ดังนี้
- Intel ได้พัฒนา Processor ชุดนี้ขึ้นมาพร้อมกับเทคโนโลยี MMX (ที่จริงไม่มีใครกำหนดตัวย่อ แต่ชอบเอามาเรียกกันว่า Multi Media eXtensions) เป็น Chip ที่เปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีของชิพในรอบ 10 ปี โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 3 อย่างหลัก ๆ จาก Pentium ธรรมดา คือ
1. L1 Cache ของ Chip เพิ่มเป็น 2 เท่าจาก 16 KB เป็น 32 KB
2. มี 57 คำสั่งใหม่ที่เพิ่มเข้ามาใน Chip ใช้จัดการกับเลขจำนวนเต็ม (Integer) ชุดคำสั่งนี้เรียกว่า MMX สามารถแสดงผลภาพ Graphics ได้เร็วขึ้น
3. มีวิธีการประมวลผลแบบใหม่ที่เรียกว่า SIMD (Single Instruction Multiple Data) ซึ่งช่วยให้การประมวลผลเพียงคำสั่งเดียว แต่ได้ข้อมูลหลายชุดเพื่อที่จะจัดการกับฟังก์ชั่นที่ใช้บ่อย ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น
- เมื่อ Cache L1 ใหญ่ขึ้นนั่นหมายความว่า Processor มีข้อมูลในมือมากขึ้นและลดความต้องการข้อมูลจาก L2 Cache ลงไป และเป็นผลประโยชน์กับ Software ทุกตัว
- เป็นสถาปัตยกรรม 64-bit โดยใช้ register 8 ชุด ที่ใช้ในการประมวลผลแบบขนานได้อย่างดีมากขึ้น ทำให้ข้อมูลขนาด 64-bit 8 ชุด สามารถประมวลผลได้ในรอบสัญญาณนาฬิกาเดียวเท่านั้น และสามารถประมวลผลทาง Multi Media ได้อย่างดีเยี่ยม รวมไปถึงการเข้ารหัสและถอดรหัส VDO / MPEG และ VDO CD
- Pentium MMX นั้นต้องการ Main Board ตัวใหม่เพราะมีการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงาน ซึ่ง Pentium MMX นั้นทำงานด้วยเทคโนโลยี Dual Voltage ซึ่งใช้สองแรงดันไฟใน CPU เดียวกัน (2.8/3.3V.DC.)
- Intel ยืนยันเอาไว้ว่าความเร็วสำหรับ Software ปกติต้องมากขึ้นประมาณ 10-20% และสำหรับงานทางด้าน Graphics จะเพิ่มถึง 60-400%












 Intel Pentium Pro
Intel's Pentium PRO : P6
Clock Rate : 120 - 200 MHz
BUS : 60 , 66 MHz
Born : Nov 1995
Platform : SOCKET 8
L1 Cache : 16 KB
L2 Cache : near CPU Run At Full Processor Speed 256 KB - 1 MB
Process Technology : 0.35 Micron

สรุปรายละเอียดได้ดังนี้
- Pentium PRO คือซีพียูรุ่นแรกของตระกูล P6 ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นแบบของ Pentium II และ Pentium III
- Chip นี้พัฒนาตั้งแต่ปี 1991 แต่มาเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 1 พ.ย. 1995
- นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ประเภท Server เป็นส่วนใหญ่ CPU ตัวนี้ถ้าทำงานกับซอฟต์แวร์ระบบ 16 bit เช่น Windows 3.11 แล้วความเร็วของมันอาจจะสู้กับ Pentium ไม่ได้ด้วยซ้ำไป เพราะถูกออกแบบมาให้สำหรับซอฟต์แวร์แบบ 32 bit อย่าง Windows NT และ Windows 98 ร่วมกับโปรแกรมใหม่ ๆ เท่านั้น
- Pentium PRO ต่างจาก Pentium ธรรมดาตรงที่มี L2 cache รวมเอาไว้ใน CPU เลย (วางเอาไว้ข้าง ๆ Chip แต่ไม่ได้รวมเป็นแผ่นเดียวกัน) และ L2 Cache นั้นสามารถทำงานได้ที่สัญญาณนาฬิกาเดียวกันกับ CPU ได้เลย จึงทำให้สามารถติดต่อกับ Chip ด้วยทางกว้าง 64 bit ได้เลย ไม่เหมือนกับ bus ของ Pentium ที่ต้องต่อผ่าน Main Board ที่มีความกว้าง 32 bit ก่อนจะถึง Cache L2
- และ Cache L2 256 KB ของ Pentium Pro ก็มีความสามารถเทียบเท่ากับ 2 MB บน Main Board ของ Pentium ธรรมดารแล้วบริษัทอินเทลได้กล่าวเอาไว้
- ความเร็วของ Pentium PRO ส่วนใหญ่มาจากเทคโนโลยีที่ Intel ได้ทำขึ้นมา เรียกว่า Dynamic Execution ที่รวมเอา 3 เทคโนโลยีไว้ด้วยกัน คือ
• Branch Prediction (การทำนายคำสั่งต่อไป)
• Data Flow Analysis (การวิเคราะห์ข้อมูลและคำสั่ง)
• Speculative Execution (การเก็งการประมวลผลครั้งต่อไป)
ทำให้สัญญาณนาฬิกาหนึ่ง ๆ ของ Pentium PRO มีประสิทธิภาพมากขึ้น การสูญเปล่าของสัญญาณนาฬิกาแต่ละสัญญาณน้อยลงด้วยการทำนายคำสั่งล่วงหน้า Pentium PRO เป็น Processor ตัวแรกที่มีความสามารถแบบ Super pipelining หรือการประมวลผลคำสั่งที่ 2 ขณะคำสั่งแรกประมวลผลอยู่
- Pentium PRO ใช้แรงดันไฟขนาด 2.9 Volt และมี 4 ช่องทางประมวลผล (4 pipelines for simultaneous instruction execution.) สนับสนุน RAM สูงสุดที่ 4 GB และ รองรับการประมวลผลพร้อม ๆ กันได้ถึง 4 Processors ซึ่งได้ถูกทดแทนด้วย CPU รุ่น Pentium II Xeon และ Pentium III Xeon ในปัจจุบัน

 The Pentium II Klamath
Intel's Pentium II : Klamath
Clock Rate : 233 - 450 MHz
BUS : 66 MHz
Born : May 1997
Platform : SLOT 1
L1 Cache : 32 KB
L2 Cache : 512 KB In CPU SECC work at half of processor clock speed
Process Technology : 0.35 Micron

สรุปรายละเอียดได้ดังนี้
- Pentium II "Klamath" พัฒนาต่อจาก Pentium PRO ในปี 1995 และเสร็จสิ้นในวันที่ 7 พ.ค. 1997 โดยนำเอาสถาปัตยกรรม MMX เพิ่มเข้าไปใน Pentium PRO
- Pentium II มี Cache L2 ในตัวโดยติดอยู่ภายใน CPU SECC (Single Edge Contact Cartridge) และมีความเร็วสูงกว่า Cache L2 ที่ติดอยู่กับเมนบอร์ดมาก รันที่ความเร็วครึ่งหนึ่งของโพรเซสเซอร์ เช่น Pentium II 266 MHz Cache L2 จะรันที่ความเร็ว 133 MHz และดังนั้น Pentium II 450 MHz จะมี Cache L2 รันที่ความเร็ว 225 MHz ซึ่งเร็วกว่า Pentium PRO รุ่นสูงสุดอยู่ 25 MHz เท่านั้น จึงไม่เหมาะที่จะมาเป็น Server แทน Pentium PRO แต่สำหรับ Desktop นี่สบาย
- Pentium II รันที่กระแสไฟฟ้า 2.8 V แต่ Pentium PRO รันที่ 3.3 V
- Pentium II และ Pentium Pro นั้นใช้เทคโนโลยี Dynamic Execution ทั้งคู่แต่ Pentium II มีการคาดเดาที่แม่นยำกว่า Pentium Pro อยู่ประมาณ 5-10% จึงทำให้การเดาคำสั่งล่วงหน้าได้ถูกมากขึ้น
- Pentium II ได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพจาก Pentium Pro อย่างมากในด้าน 16-bit Software ที่ Pentium Pro ไม่สามารถสู้ได้แม้แต่ Pentium ธรรมดา และ Intel ทำการบ้านมาอย่างดีเพื่อนให้ Pentium II ทำงานกับ Win95 และ Win 3.11 ได้เป็นอย่างดี
- Pentium II มาใน Package ใหม่ต่างจาก Pentium Pro ตรงที่มันเป็น SECC หรือ SEC Cartridge ที่จะทำให้ Pentium II ติดต่อกับ L2 Cache ได้อย่างสะดวกมากกว่า Pentium MMX แต่น้อยกว่า Pentium Pro เป็นเพราะว่า Intel ไม่ได้เล็งให้ Pentium II มาแทน Pentium Pro แต่ให้มาแทน Pentium MMX
- Pentium II จะติดต่อกับ L2 Cache ด้วยความเร็วครึ่งหนึ่งของ Pentium II แต่ Pentium Pro จะติดต่อด้วยความเร็วเดียวกันกับ Pentium Pro เลย

 The Celeron "Covington"
Intel's Celeron : Covington
Clock Rate : 266 - 533 MHz
BUS : 66 MHz
Born : Apr 1998
Platform : SLOT 1
L1 Cache : 32 KB
L2 Cache : NO
Process Technology : 0.25 Micron

สรุปรายละเอียดได้ดังนี้
- Intel ได้ก้าวสู่ตลาด PC-low cost โดยการส่ง CPU ตัวแรกออกมาคือ "Celeron" มีรหัสว่า Covington แต่กลับสิ้นท่าเกือบตกม้าตายเพราะว่าการตัด Cache L2 ออกไปหมดนั้นทำให้ Chip "ไร้พลัง" ในการประมวลผลและการที่ใช้ SLOT 1 ทำให้คู่แข่งอย่าง AMD,Cyrix ที่ใช้ SOCKET 7 ซึ่งถูกกว่า เรียกลูกค้าไป
- Celeron ตัวนี้เหมือน Pentium II Deschutes เกือบทั้งหมดยกเว้น Front Side BUS ที่ 100 MHz Celeron สนับสนุนแค่ 66 MHz เท่านั้น
- Celeron ไม่มีกล่องพลาสติกหุ้มเหมือน Pentium II ที่เรียกว่า SECC (Single Edge Contact Catridge) จึงเรียก Celeron ว่า SEPP (Single Edge Processor Package)
- Celeron 266,300 จะไม่มี L1 Cache ใช้กับ Slot 1 เท่านั้น
- Celeron 300A มี L1 Cache ขนาด 128 KB. ใช้กับ Slot 1 เท่นั้น
- Celeron 333,366,400,433 มี L1 Cache ขนาด 128 KB. ใช้กับ Socket 370 และ Slot 1
- Celeron 466,500,533 มี L1 Cache ขนาด 128 KB. ใช้กับ Socket 370 เท่านั้น

 The Pentium III "Katmai"

Intel's Pentium III : Katmai
Clock Rate : 450 - 600 MHz
BUS : 100 MHz
Born : Feb 1999
Platform : SLOT 1
L1 Cache : 32 KB
L2 Cache : 512 KB In CPU SECC work at half of processor clock speed
Process Technology : 0.25 Micron

สรุปรายละเอียดได้ดังนี้
- ออกสู่ท้องตลาดเมื่อ 26 ก.พ. ปี 1999 ซึ่งคุณสมบัติใหม่ใน Pentium III - Katmai ไม่ได้แตกต่างกับ Pentium II มากนักคือแค่เพิ่มคำสั่ง SSE ที่ใช้ในการประมวลผลทางด้าน 3D เข้าไปเท่านั้น
- SSE (Streaming SIMD Extension) 70 คำสั่งใหม่ในการประมวลผลของ P3 (P3 = Pentium III)
- SIMD นั้นย่อมาจาก Single Instruction Multiple Data แปลว่า คำสั่งเดียวหลายข้อมูลนั่นเอง
- SSE ใช้กับ Software สมัยใหม่ล้วน ๆ และ SSE มี 70 คำสั่งแต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำงานกับ 3D อย่างเดียว บางส่วนยังมาช่วย MMX ตัวเก่าในการประมวลผลเลขจำนวนเต็มได้เหมือนกันนั่นคือ 12 คำสั่งที่เพิ่มเติม MMX เดิมเพื่อที่จะถอดรหัส MPEG-2 ได้อย่างดี และอีก 50 คำสั่งที่ใช้ในการประมวลผล 3D ซึ่งก็คือ SIMD-FP (FP = Floating Point คือเลขทศนิยม)
- การประมวลผล 3D จะต้องใช้เลขทศนิยมในการประมวลผลอย่างมาก จึงทำให้ CPU ทำงานได้อย่างรวดเร็วขึ้นมาถึง 30% และคำสั่งที่เหลืออีก 8 คำสั่งจะใช้สำหรับประมวลผลเพิ่มความสามารถกับ สถาปัตยกรรมภายใน P6 เช่น L2 Cache และ RAM เพื่อให้ Bandwidth เพิ่มขึ้น 20%
- สำหรับ System BUS ของ P3 มาในรูปแบบใหม่ของ SLOT 1 ก็คือ SECC2 จาก PII ที่ใช้ SECC ธรรมดา SECC2 ต่างจาก SECC ตรงที่การสัมผัสกับแผ่นระบายความร้อน ซึ่ง P3 จะร้อนกว่า PII คือ P3 ร้อนเกือบ 56 องศาเซลเซียส จึงต้องใช้พัดลมระบายความร้อนตัวใหญ่มากในการทำให้มันเย็นลง
- อีกคุณสมบัติหนึ่งก็คือ ID Number PSN (Processor Serial Number) ซึ่งจะเป็นคุณสมบัติ เฉพาะตัวของ P3 แต่ละตัวเป็นรหัสขนาด 96-Bit และมันสามารถทำให้การติดต่อซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เนตและการเข้ารหัสป้องกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยมากขึ้น





 The Pentium III Xeon "Tanner"

Intel's Pentium III Xeon : Tanner
Clock Rate : 500 MHz and up
BUS : 100 MHz
Born : Feb 1999
Platform : SLOT 2
L1 Cache : 32 KB
L2 Cache : 512 - 2MB Custom SRAM Run at FULL CPU SPEED
Process Technology : 0.25 Micron
P3 Xeon ก็เหมือน P3 ธรรมดา + PII และ Pentium III Xeon นี้มีรหัสว่า Tanner สามารถรองรับ SSE (Streaming SIMD Extensions) และ PSN Number ด้วย P3 Xeon หากินกับตลาด Server/Workstation และมีความเร็วเริ่มต้นที่ 500 MHz มากับ L2 Cache 512 KB, 1MB หรือ 2MB

 AMD K6 "Little Foot"

AMD's K6 : Little Foot
Clock Rate : 166-300 MHz
BUS : 66 MHz
Born : Apr 1997
Platform : SOCKET 7
L1 Cache : 64 KB
L2 Cache : Main board / Normal or Piped Line Burst 256 - 1MB
Process Technology : 0.35 Micron

K6 ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในปี 1997 เดือนเมษายน เป็นโพรเซสเซอร์ที่มีสมรรถภาพเหนือกว่า Pentium MMX แต่อ่อนกว่า Pentium II ประมาณ 5-10% K6 มีข้อดีที่ราคาถูก และด้วย L1 Cache ที่เหนือกว่าทั้ง Pentium PRO, Pentium MMX และ Pentium II ถึง 4, 2, 2 เท่าตามลำดับ แต่เสียตรงที่ K6 ประมวลผลเลขทศนิยมได้ช้ากว่า Pentium MMX มาก ทำให้เล่นเกม 3 มิติหรือใช้งานด้าน 3D ช้า ส่วนงานทางด้านเลขจำนวนเต็มที่ใช้กับงาน 2D ยังช้ากว่า Pentium MMX เพราะว่า K6 มี MMX Unit เพียงตัวเดียวแต่ Pentium MMX, Pentium II มีถึง 2 ตัวที่สามารถทำงานได้พร้อม ๆ กัน จึงทำให้เร็วกว่า K6 เริ่มต้นที่ความเร็ว 166 MHz จนไปถึง 300 MHz มีรวม 5 รุ่นคือ 166, 200, 233, 266 และ 300 MHz


 AMD K6-2 "Chomper"

AMD's K6-2 : Chomper
Clock Rate : 266-500 MHz
BUS : 88/95/100 MHz
Born : May 1998
Platform : SOCKET 7
L1 Cache : 64 KB
L2 Cache : Main board / Normal or Piped Line Burst 256 – 1 MB
Process Technology : 0.25 Micron

มาถึง Chip ที่ประสพความสำเร็จมากที่สุดของ AMD เลยก็ว่าได้นั่นก็คือ AMD K6-2 ด้วยความสามารถในการจัดการกับภาพ 3 มิติแบบใหม่โดยคำสั่งชุดใหม่คล้าย ๆ MMX ของ Intel แต่เป็น 3D Now! ของ AMD ทำให้เรื่องของการคำนวณเลขทศนิยมของ AMD จากที่เคยเป็นรอง Intel มาโดยตลอดขึ้นมาเทียบชั้นกับ Intel ได้ถึงสูสีเมื่อ Software ใช้คำสั่ง 3D Now! และใช้ Direct X 6 ของ Microsoft
AMD K6-2 นี้มีคำสั่ง 3D Now! ทั้ง 21 คำสั่ง เป็นหัวใจหลักในการขายซึ่งทำงานได้เป็นอย่างดีกับ Software สมัยใหม่หรือ Software ที่ได้รับการสนับสนุนคำสั่งนี้แล้ว 3D Now! ไม่ใช่แค่เพิ่มประสิทธิภาพกับเกม 3 มิติเท่านั้น มันยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใน Software ประเภทจดจำเสียงพูด, การเรนเดอร์ภาพ 3 มิติ , และSoftware เกี่ยวกับการถอดรหัส DVD ต่าง ๆ
AMD K6-2 ได้เพิ่มหน่วยประมวลผล MMX/3D Now! เข้าไปอีกชุดรวมเป็น 2 ชุดเพื่อการคำนวณที่รวดเร็วขึ้นเช่นเดียวกับ Pentium MMX และ Pentium II ที่มีหน่วย MMX ถึง 2 ชุด ประสิทธิภาพของ AMD K6-2 นั้นมีมากเรียกได้ว่าสามารถเทียบชั้นกับ Pentium II ได้ตัวต่อตัวเลยทีเดียว

 AMD K6-III "Sharptooth"

AMD's K6-III : Sharptooth
Clock Rate : 400 MHz and up
BUS : 100/133 MHz
Born : Mar 1999
Platform : SOCKET 7
L1 Cache : 64 KB
L2 Cache : 256 KB on CPU's Silicon (on-die)
L3 Cache : Main board / Normal or Piped Line Burst 512 - 2MB
Process Technology : 0.25 Micron

Chip ตัวสุดท้ายในสถาปัตยกรรม SOCKET 7 ของ AMD ที่ปล่อยออกมาชนกับ Pentium III ของ Intel เป็น Chip ที่มี Cache 3 ระดับหรือ Tri Level Cache เทคโนโลยีของ AMD ที่ใช้ Cache 3 ชุดเพื่อเร่งความเร็วในการทำงานของ CPU ให้มากขึ้น
L1 Cache ขนาด 64 KB เป็นตัวที่เร็วที่สุดใน 3 ระดับ บรรจุไว้ภายใน CPU
L2 Cache ขนาด 256 KB เป็นตัวที่มีความเร็วรองลงมาจาก L1 Cache ซึ่งทำงานที่ความเร็วระดับเดียวกันกับ CPU และบรรจุไว้ในแผ่น Silicon เดียวกันกับ CPU
L3 Cache เป็น Cache ที่อยู่ที่ Motherboard มีขนาดใหญ่ที่สุดแต่ความเร็วช้ากว่า Cache ตัวอื่น ๆ ทำงานที่ความเร็วของ Bus มีขนาด 512KB - 2MB
AMD K6-3 ตัวนี้ทำงานทางด้านธุรกิจเร็วกว่า Pentium III ที่ความเร็วเดียวกัน ประมาณ 5-10 % แต่มีข้อเสียคือประสิทธิภาพทางด้าน เลขทศนิยมน้อยกว่า Pentium III ประมาณ 40% โดยไม่ใช้ 3D Now! แต่ถ้าใช้ 3D Now! แล้วจะช้ากว่าประมาณ 15% แต่ถ้าเทียบกับ Pentium III ที่ใช้ SSE แล้วนับว่ายังห่างไกลกันอยู่มาก ๆ เกิน 50%

• หมายเหตุ
จากที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นนั้น เป็นเพียงข้อมูลของ Micro processor บางส่วนเท่านั้น ยังมีอีกมากมายที่มิไดกล่าวถึงเช่น Intel ในกลุ่ม 80486 และ 80386 ตระกูล AMD เช่น K5, ตระกูล Cyrix เช่น 6x86,MI,MII ซึ่งท่านที่สนใจสามารถหาข้อมูลได้จาก www.cyrix.com , www.intel.com และ www.amd.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น