วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 5 บุคลากรและระเบียบปฏิบัติ

บทที่ 5
บุคลากรและระเบียบปฏิบัติ
• กล่าวนำทั่วไป
บุคลากร (People ware) คือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานต่าง ๆ และผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปในหน่วยงาน ซึ่งบุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนี้สามารถแบ่งบุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์ออกเป็นหลายกลุ่ม คือ
 กลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป (User) เป็นกลุ่มที่ไม่มีความรู้ทางด้านเทคนิคมากนักแต่สามารถใช้งานโปรแกรมประยุกต์ที่ตัวเองรับผิดชอบได้เช่น เจ้าหน้าที่บัญชี, บรรณารักษ์
 กลุ่มเจ้าหน้าที่ระบบคอมพิวเตอร์ เป็นกลุ่มนักเทคนิคทางคอมพิวเตอร์ อาจจะแยกเป็นกลุ่มฮาร์ดแวร์,กลุ่มซอฟต์แวร์ และอื่น ๆ โดยปกติแล้วหน่วยงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง จะต้องมีเจ้าหน้าที่ระบบคอมพิวเตอร์อย่างเพียงพอต่อความต้องการ บุคลากรกลุ่มนี้ได้แก่
- พนักงานบันทึกข้อมูล (นำข้อมูลดิบเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์)
- พนักงานควบคุมข้อมูล (ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล)
- พนักงานปฏิบัติการ หรือ พนักงานคุมเครื่อง (ปิด/เปิดเครื่อง, Lab Boy)
- นักเขียนโปรแกรม (เขียนโปแกรมประยุกต์ใช้งานตามที่นักวิเคราะห์และออกแบบระบบกำหนดไว้ให้)
- นักวิเคราะห์ระบบ (วิเคราะห์ระบบงานและออกแบบโปรแกรมประยุกต์ใช้งาน)
- ผู้บริหารฐานข้อมูล (ออกแบบ ควบคุมดูแลระบบข้อมูลขององค์กร)
- ผู้บริหารเครือข่าย (ออกแบบ ควบคุมดูแลระบบเครือข่าย)
- ผู้บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ (บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์โดยภาพรวม อันได้แก่ทางด้านฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการจัดการบุคลากร เพื่อนำไปสู่เป้าหมายหลักขององค์กรที่ตั้งไว้
 กลุ่มผู้ขายคอมพิวเตอร์ ได้แก่บริษัทผู้จัดหาคอมพิวเตอร์มาติดตั้ง ทดสอบการใช้งานและช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการซ่อมบำรุงหรือการบริการหลังการขายต่าง ๆ ด้วย
 กลุ่มที่ปรึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ ได้แก่ผู้ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผู้ที่ทำหน้าที่นี้มีทั้งบรรดาอาจารย์จากมหาวิทยาลัย ที่ปรึกษาอิสระ (Freelance) หรือบริษัทที่ทำกิจการด้านนี้โดยตรง

• แนวทางการพัฒนาบุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์
การที่จะพัฒนาบุคลกรทางด้านคอมพิวเตอร์ ขึ้นมาเพื่อให้สามารถทำงานได้จริงนั้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากมาก ยิ่งเป็นบุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์ที่เป็นข้าราชการแล้วก็ยิ่งยากเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า แต่แนวทางในการพัฒนาบุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์นั้น กระทำได้ 2 ลักษณะ คือ
1. รับบุคลกรทางด้านคอมพิวเตอร์มาทำงานในสายงานที่ต้องการ
2. พัฒนาบุคลกรในสายงานนั้น ๆ ให้เรียนรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ (ส่วนมากจะได้ผลดีกว่า)


• เทคนิคในการเรียนรู้…ทางด้านคอมพิวเตอร์
ในการที่บุคลากรทางด้านใด ๆ ก็ตามจะมาศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์นั้น ผู้เขียนมีข้อแนะนำอยู่เรื่องหนึ่งคือว่า คอมพิวเตอร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เป็นศาสตร์ตรงทุกอย่างมีที่ไปที่มาชัดเจน คำนวณได้ พิสูจน์ได้ มีทฤษฏีอ้างอิงมากมายทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เป็นศิลป์ตรงที่ทุอย่างจะต้องทุ่มเทฝึกฝนอย่างจริงจัง ถ้าไม่รักจริงก็จะสู้ไม่ไหว
การที่จะศึกษาหรือฝึกฝนทางด้านคอมพิวเตอร์ นั้นขอให้กระทำดังต่อไปนี้ แล้วจะเกิดผลอย่างแน่นอน
1. จัดหาเครื่องมือ
- หาฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์ที่ต้องการศึกษามาเป็นอันดับแรก
2. ไม่ยึดถือเรื่องเวลา
- ในการศึกษาคอมพิวเตอร์ หรือการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ถ้าจะนำเอาเวลามาเป็นข้อกำหนด เช่น เวลาเท่านั้น เท่านี้ให้หยุดพักหรือให้เสร็จ จะทำให้การศึกษาขาดความเป็นศิลป์ จะทำให้ผู้เข้ารับการศึกษาเข้าใจยาก และสับสนมากขึ้น เสียเวลามากขึ้น
3. มุ่งหน้าทดลอง
- การศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์นั้นส่วนมากแล้วจะได้มาจากการลองผิดลองถูก ถ้าใครทดลองมาก ก็ย่อมจะมีข้อมูลมากในการปฏิบัติงานจริง (หลักการทางวิทยาศาสตร์)
4. แคล่วคล่องเรื่องบันทึก
- ในการทดลองมักจะเกิด Error อย่าลืมจดบันทึกเอาไว้
5. ฝึกประยุกต์ใช้กับงานจริง
- การศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ มิได้สินสุดที่ใบประกาศ หรือปริญญาบัตร การที่ได้นำเอาวิชาความรู้มาประยุกต์ใช้กับระบบงานจริงได้สำเร็จ ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง

• ระเบียบปฏิบัติ , คู่มือ และมาตรฐาน (Procedure)
การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในหน่วยงานใด ๆ นั้นจำเป็นจะต้องไปสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติจำนวนมาก ซึ่งบุคคลเหล่านี้ บางคนก็เรียนรู้ได้เร็วบางคนก็เรียนได้ช้า นอกจากนั้นยังมีแนวคิดและทัศนคติแตกต่างกันออกไป ดังเพื่อให้คนเหล่านี้ทำงาน รวมกันได้โดยไม่มีปัญหา จึงจำเป็นต้องมีระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนได้เรียนรู้ และนำไปใช้ในการอ้างอิงได้
นอกจากนั้นเมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ขยายออกไป ก็อาจจะมีผู้ต้องการจัดหาคอมพิวเตอร์มาใช้งานมากขึ้น การกำหนดมาตรฐานด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมี เพื่อประโยชน์ในการจัดการและดูแลรักษา
 ระเบียบต่าง ๆ ที่ควรจะมีการกำหนด คือ
 ระเบียบเกี่ยวกับพนักงาน
 ระเบียบเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์
 ระเบียบเกี่ยวกับการใช้ข้อมูล แฟ้มข้อมูล และสื่อข้อมูล
 ระเบียบการเก็บเอกสาร (Hard Copy)
 ระเบียบการรายงานต่าง ๆ

 คู่มือต่าง ๆ ที่ควรจะมีไว้คือ
 คู่มือการเข้าใช้เครื่อง (ขั้นตอนการใช้เครื่อง) (Operation Manual)
 คู่มือการใช้งานระบบเครือข่าย (ถ้ามี)
 คู่มือการใช้โปรแกรมที่จำเป็น
 คู่มือการแก้ปัญหาในขั้นต้น หรือ Error Message Manual
 คู่มือสถานภาพและประวัติการใช้เครื่อง

 มาตรฐานต่าง ๆ ที่ควรจะมีการกำหนด คือ
 มาตรฐานทางด้าน Hardware, Software และ Network
 มาตรฐานว่าด้วยวิธีการทำงานในสำนักงานอัตโนมัติ
 มาตรฐานของแบบฟอร์มต่าง ๆ เช่น
- แบบฟอร์มคำขอพัฒนาระบบ/การขอเปลี่ยนแปลงระบบ
- แบบฟอร์มการปฏิบัติงานกับเครื่อง เช่น Error Message Book, Program Logic Message
- แบบฟอร์มการเขียนโครงการ
 มาตรฐานเกี่ยวกับแผนภาพ
 มาตรฐานเกี่ยวกับการให้บริการ (Service Level Agreement)
 มาตรฐานตำแหน่งและคุณสมบัติของพนักงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น